รายงานการประเมินผลโครงการประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนบ้านหนองสระ ปี 2554-2555

ชื่อเรื่อง                                  รายงานการประเมินผลโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านหนองสระ

ผู้ประเมินผลโครงการ                 นางสุภรัตน์  ศิริพร

สังกัดโรงเรียนบ้านหนองสระ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

ปีที่รายงาน                           2555

บทคัดย่อ 

                การประเมินผลโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านหนองสระ ครั้งนี้  มี

วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context)  2) ประเมินด้านปัจจัย(Input)  3) ประเมินด้านกระบวนการ (Process)   4) ประเมินด้านผลผลิต (Product)  และ 5) ประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล มีจำนวนทั้งสิ้น50คน ประกอบด้วยผู้บริหาร ครูและบุคลากรในโรงเรียน จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 30 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและกรรมการที่ปรึกษา จำนวน  11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วยแบบสอบถามประเมินโครงการ  จำนวน 1 ชุด แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ชุด   เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดประเมินค่า 5 ระดับ (Rating skale)  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย   และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอข้อมูลโดยตารางวิเคราะห์ข้อมูล  ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้

                      1. ด้านสภาพแวดล้อมของโรงเรียน เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกรายการ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ โครงการนี้จะช่วยแก้ปัญหาพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน และยกระดับคุณภาพมาตรฐานของโรงเรียนให้สูงขึ้นโครงการนี้เกิดจากสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นอย่างแท้จริงของสถานศึกษา  มีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการพัฒนาโครงสร้างในการบริหารสถานศึกษา พัฒนาระบบบริหาร การจัดการ และวัตถุประสงค์ เป้าหมายของโครงการสอดคล้องกับนโยบาย  สภาพแวดล้อมทั้งภายในภายนอกโรงเรียน

                    2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ  ภาพรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด  และเมื่อพิจารณารายข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมายของโครงการ  บุคลากรมีความเหมาะสมและเพียงพอในการดำเนินงานตามโครงการ  ระยะเวลาการดำเนินงานตามโครงการมีความเหมาะสม  และงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมีความเหมาะสม เพียงพอ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด อยู่ในระดับมาก

                      3. ด้านกระบวนการ ผู้ประเมินได้ประเมินการดำเนินงาน มี 4 ด้าน คือ การวางแผนการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน (Plan)  การปฏิบัติตามแผน (Do) การตรวจสอบประเมินผล (Check) และการพัฒนาปรับปรุง (Act) ดังนี้

                                3.1 ด้านการวางแผนการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน (Plan)  ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ  และเมื่อพิจารณารายข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน   มีการวางแผนการประเมินและเตรียมการไว้ก่อนล่วงหน้าไปพร้อมกับการจัดทำแผนต่างๆ  ผู้บริหารและครูในโรงเรียนมีการร่วมกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน  และมีการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลสภาพเศรษฐกิจสังคมของท้องถิ่น ชุมชน เพื่อจัดทำแผนพัฒนาและกำหนดเป้าหมายของโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด

                                3.2 ด้านการปฏิบัติตามแผน (Do)  ภาพรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด  และเมื่อพิจารณารายข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  ส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนได้ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และเชื่อมโยงระหว่างภารกิจของต่าง ๆ ด้วยผู้ปกครองนักเรียน กรรมการสถานศึกษาได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้เรียน  ส่วนมีการสนับสนุนให้กรรมการสถานศึกษาได้มีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพภายใน อยู่ในระดับมาก   มีการศึกษาขั้นตอนการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง และมีการประเมินเป็นระยะ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับมากเช่นกัน

                                3.3 ด้านการตรวจสอบประเมินผล (Check)  ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2 รายการ  และเมื่อพิจารณารายข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  มีการบันทึกข้อมูลและร่วมกันตรวจสอบผลงานหาจุดเด่นของโรงเรียน  มีการนิเทศภายในเพื่อแนะนำ จูงใจให้ครูปฏิบัติงานให้สำเร็จ  ส่วนมีการกำหนดเครื่องมือที่จะใช้ประเมินให้เหมาะสมกับตัวบ่งชี้ที่จะวัด อยู่ในระดับมาก และมีการตรวจสอบประเมินผลเป็นระยะ ๆ  ว่าการดำเนินการเป็นไปในทิศทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายหรือมาตรฐานมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับมากเช่นกัน

                                3.4  ด้านการพัฒนาปรับปรุง (Act) ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกรายการ  และเมื่อพิจารณารายข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  มีการนำเอาข้อมูลสารสนเทศมาประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ  มีการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมโดยกำหนดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ต้องแก้ไขและพัฒนา  มีการนำผลการประเมินคุณภาพภายในเป็นข้อมูลปรับปรุงการปฏิบัติงานของผู้บริหารและบุคลากรโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และมีการเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองหรือรายงานประจำตัวให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับมากเช่นกัน

                      4. ด้านผลผลิตของโครงการ ผู้ประเมินได้ทำการประเมินเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน มี  8 ด้าน ดังนี้

                                4.1 การจัดระบบการบริหารและสารสนเทศ   โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ  และเมื่อพิจารณารายข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  มีการจัดระบบการบริหารจัดการให้เอื้อต่อการดำเนินงานโดยทุกคนมีส่วนร่วม  มีการจัดโครงสร้างการบริหารของสถานศึกษา  มีการประสานสัมพันธ์กันทุกฝ่ายทุกคน  และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดแนวทางให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน

                                4.2 การพัฒนามาตรฐานการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ  และเมื่อพิจารณารายข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  มีการกำหนดวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา  มีการกำหนดภารกิจของสถานศึกษา  มีการแต่งตั้งคณะบุคคลทำการตรวจสอบ ทบทวน และรายงานคุณภาพการศึกษา  มีการจัดให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษามีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน

                                4.3 การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ  และเมื่อพิจารณารายข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษา  มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา  มีการมุ่งเน้นมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่หลักสูตรกำหนด  มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบบนพื้นฐานข้อมูลสถานศึกษา  มีการกำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน สมบูรณ์ ครอบคลุมการพัฒนาทุกกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน

                                4.4 การดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ  และเมื่อพิจารณารายข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  การกำกับ ติดตาม การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายตามแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษากำหนดไว้  การนำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมที่กำหนดอย่างสอดรับกับวิสัยทัศน์ และมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่ชัดเจน ครอบคลุมงาน/โครงการของสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน

                                4.5 การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ  และเมื่อพิจารณารายข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาโดยบุคลากรภายในสถานศึกษา  การนำผลการตรวจสอบ และประเมินมาปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษา  การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาโดยบุคลากรจากหน่วยงานต้นสังกัดมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน

                                4.6 การประเมินคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ  และเมื่อพิจารณารายข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  การประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนระดับสถานศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ปีสุดท้ายของช่วงชั้นการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนระดับสถานศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ปีสุดท้ายของช่วงชั้นในกลุ่มสาระต่าง ๆ และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน

                                4.7 การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

ทุกรายการ  และเมื่อพิจารณารายข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  การจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด   การจัดนิทรรศการแสดงผลงาน การพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี  การจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา เสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน/ผู้ปกครองนักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน

                                4.8 การผดุงระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ  และเมื่อพิจารณารายข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  การนำข้อมูลผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษาไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป   การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นไปอย่างมีระบบและต่อเนื่อง  การประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินงานของระบบประกันคุณภาพการศึกษามีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน

                      5. ผลการประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านหนองสระ ปีการศึกษา 2554  โดย ผู้บริหาร จำนวน  1  คน  ครู จำนวน  5  คน  บุคลากรทางการศึกษา จำนวน  3  คน  กรรมการสถานศึกษาและกรรมการที่ปรึกษา จำนวน  11  คน  และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน  30  คน รวมทั้งหมด  50  คน  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ  และเมื่อพิจารณารายข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  ผู้บริหาร และครู มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู  โรงเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานกระทรวงศึกษาธิการ  ได้รับการประเมินทั้งภายในและภายนอกตามกฎกระทรวง และเผยแพร่ผลประเมินอย่างกว้างขวาง  โรงเรียนดำเนินการจัดโครงสร้างระบบบริหารงาน  และพัฒนาองค์กรได้ อย่างเป็นระบบ ครบวงจร สามารถตรวจสอบได้  ผู้เรียนในโรงเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตร  โรงเรียนมีการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง  สรุปผลการดำเนินงานและการรายงานเป็นที่ทราบของสาธารณชน  โรงเรียนดำเนินการจัดโครงสร้างระบบบริหารงาน  และพัฒนาองค์กรได้ อย่างเป็นระบบ ครบวงจร สามารถตรวจสอบได้   นำผลการตรวจติดตาม และการประเมินภายในและภายนอกไปปรับปรุง การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง  โรงเรียนมีการจัดการข้อมูล สารสนเทศอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมและทันต่อการใช้งาน  มีระบบกลไกลและมีการตรวจสอบติดตามคุณภาพสถานศึกษาตามกฎกระทรวง  และมีระบบกลไก  มีการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามกฎกระทรวง มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน คิดเป็นร้อยละ 93.00

ใส่ความเห็น