รายวิชาเพิ่มเติม สังคมศึกษา (เศรษฐกิจพอเพียง)

รายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษา

ส๑๔๑๐๓ เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน ๔๐ ชั่วโมง

ส๑๕๑๐๓ เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน ๔๐ ชั่วโมง

ส๑๖๑๐๓ เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน ๔๐ ชั่วโมง

คำอธิบายรายวิชา ระดับประถมศึกษา ส๑๔๑๐๓ เศรษฐกิจพอเพียง

รายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เวลา ๔๐ ชั่วโมง

ดำรงชีวิตอยู่อย่างสันติสุขตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาของพลเมืองประเทศชาติและสังคมโลกที่ยั่งยืน

รหัสตัวชี้วัด ส ๓.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓ รวมทั้งหมด ๓ ตัวชี้วัด

คำอธิบายรายวิชา ระดับประถมศึกษา ส๑๕๑๐๓ เศรษฐกิจพอเพียง

รายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เวลา ๔๐ ชั่วโมง

ศึกษา อธิบาย วิเคราะห์ สรุป สร้างความคิดรวบยอด ฝึกปฏิบัติ นำภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพปัญหาชีวิต สภาพแวดล้อม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจตระหนักและเห็นคุณค่าในเรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์ และแก้ปัญหากระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กระบวนการปฏิบัติ ลงมือทำจริง กระบวนการจัดการกระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้การเรียนรู้ของตนเอง กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย เพื่อให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้าน ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีความซื่อสัตย์- สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และ มีจิตสาธารณะ

รหัสตัวชี้วัด ส ๓.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒ รวมทั้งหมด ๒ ตัวชี้วัด

คำอธิบายรายวิชา ระดับประถมศึกษา ส๑๖๑๐๓ เศรษฐกิจพอเพียง

รายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เวลา ๔๐ ชั่วโมง

ศึกษา ค้นคว้าข้อมูล วิเคราะห์ อภิปรายและสรุปความสำคัญ ของเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการ การบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค หลักเศรษฐกิจพอเพียง ระบบเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจสถาบันเศรษฐกิจ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจตระหนักและเห็นคุณค่าในเรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์ และแก้ปัญหากระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กระบวนการปฏิบัติ ลงมือทำจริง กระบวนการจัดการกระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้การเรียนรู้ของตนเอง กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย เพื่อให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้าน ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีความซื่อสัตย์- สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และ มีจิตสาธารณะ

รหัสตัวชี้วัด ส ๓.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓ รวมทั้งหมด ๓ ตัวชี้วัด

ใส่ความเห็น